บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กุมภาพันธ์, 2014

หนอนห่อใบข้าวและแมลงสิง

หนอนห่อใบข้าวและแมลงสิง หนอนห่อใบข้าว แมลงศัตรูข้าว หนอนห่อใบข้าวหรือหนอนกอข้าวมี   4 ชนิด  คือ  สีครีม  แถบลาย หัวดำ สีชมพู  หนอนกอข้าวทั้ง 4 ชนิดนี้ เป็นผีเสื้อกลางคืน ชอบเล่นแสงไฟเวลากลางคืนหนอนทั้ง 4 ชนิดนี้จะทำลายต้นข้าวในลักษณะเดียวกัน นั่นก็คือ ตัวหนอนจะกัดกินภายในลำต้นข้าว ทั้งในต้นข้าวที่ยังเล็กหรือข้าวที่กำลังแตกกอ ทำให้ยอดข้าวเหี่ยว และแห้งตายในที่สุด หากหนอนกอทำลายระยะข้าวตั้งท้องหรือทำลายหลังจากนั้น จะทำให้รวงข้าวมีสีขาวเมล็ดลีบทั้งรวง หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าข้าวหัวหงอก และรวงข้าวที่มีอาการดังกล่าวจะดึงหลุดออกมาได้ง่าย แมลงสิง แมลงศัตรูข้าว แมลงสิงเป็นมวนชนิดหนึ่ง ลำตัวมีกลิ่นเหม็นฉุน ลำตัวเรียวยาว ตัวเต็มวัยยาวประมาณ 15 มิลลิเมตร ด้านบนมีสีน้ำตาล ด้านล่างสีเขียวหนวดยาวเท่ากับลำตัว แมลงสิงทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะทำลายข้าว โดยใช้ปากดูดกินน้ำเลี้ยงจากเมล็ดข้าวในระยะที่ข้าวยังเป็นน้ำนม ทำให้เมล็ดข้าวลีบหรือไม่สมบูรณ์ หากระบาดมากจะทำให้ผลผลิตข้าวจะลดลง แปลงข้าวที่มีแมลงสิงระบาดจะได้กลิ่นเหม็นฉุน ส่วนใหญ่แล้วมักพบการระบาดในระยะที่ข้าวกำลังออกรวง

เพลี้ยไฟ - เพลี้ยจักจั่น - เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

รูปภาพ
เพลี้ยไฟ - เพลี้ยจักจั่น - เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล แมลงศัตรูข้าว เพลี้ยไฟที่ระบาดในนาข้าวจะมีลักษณะเป็นแมลงขนาดเล็ก ลำตัวมีสีดำจะดูดกินนำเลี้ยงจากใบข้าว ทำให้ปลายใบแห้ง ขอบใบม้วนเข้าหากัน ถ้าระบาดมากจะทำให้ข้าวตายทั้งแปลง มักพบการระบาดในระยะที่ข้าวเป็นต้นกล้า อากาศแล้งและฝนทิ้งช่วง ลักษณะของเพลี้ยไฟที่เกาะอยู่ตามกอข้าว เพลี้ยจักจั่นสีเขียว ศัตรูข้าวชนิดนี้จะดูดน้ำเลี้ยงจากใบข้าว เป็นแมลงพาหะนำโรคใบสีส้มมาสู่ข้าว เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และเพลี้ยกระโดดหลังขาว เป็นแมลงทั้งสองชนิด ชอบบินมาเล่นกับแสงไฟเวลากลางคืนลักษณะการทำลาย จะดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณโคนกอข้าว เป็นพาหะนำโรคใบหงิกมาสู่ต้นข้าว หากระบาดมากจะทำให้ต้นข้าวแห้งตายทั้งแปลง  ต้นข้าวที่ถูกทำลายโดยเพลี้ยไฟ การป้องกันและการกำจัด 1. เมื่อเกิดการระบาดของเพลี้ยไฟ ให้ไขน้ำให้ท่วมยอดข้าว 1 – 2 วันแล้วให้ปุ๋ยเร่งการเจริญเติบโต 2. ดูแลแปลงระยะต้นกล้าอย่าให้ข้าวขาดน้ำ

แมลงเบียนหรือแตนเบียน

ศัตรูธรรมชาติที่มีประโยชน์ต่อข้าว แมลงเบียนหรือแตนเบียน มี 2 ชนิด คือ 1. แตนเบียนไข่ในหนอนกอข้าว  ลำตัวจะมีสีเขียวสะท้อนแสง ตัวเมียวางไข่เข้าไปในหนอนกอข้าว ทำให้ไข่เป็นสีดำ และไม่สามารถฟักเป็นตัวหนอนได้ ส่วนแตนเบียนหนอนกอข้าวตัวสีดำ ตัวเมียมีอวัยวะวางไข่สำหรับแทงเจาะเข้าไปวางไข่ในลำตัวหนอนกอข้าว ตัวหนอนของแตนเบียนที่โตเต็มที่ จะเจาะผนังลำตัวหนอนกอข้าวออกมาสร้างใยและถ้าเป็นรังหุ้มลำตัว แล้วเข้าดักแด้ภายในรัง หลังจากนั้นจะเจาะรังไข่ออกมาและบินไปทำลายหนอนกอข้าวที่อยู่ใกล้เคียง หนอนกอข้าวที่ถูกแตนเบียนเข้าทำลายจะมีตัวสีเหลืองซีด เคลื่อนไหวช้าไม่กินอาหารและตายในที่สุด 2. แตนเบียนดรายอินค เป็นแมลงศัตรูธรรมชาติที่สำคัญของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และเพลี้ยจักจั่นข้าว บางชนิดไม่มีปีก จะจับเพลี้ยกินเป็นอาหาร สัตว์ปีก  เช่น นกแสก นกฮูก เหยี่ยว พังพอน และงู เป็นศัตรูจับกินหนูในนาข้าว ในบางครั้งเราก็ควรรักษาวัชพืชบนคันนาควรเอาไว้ เพื่อให้แมลงศัตรูธรรมชาติต่างๆได้อยู่อาศัย และจัดการกับศัตรูข้าวในแปลงนาต่อไป แมงมุม  มีบทบาทสำคัญช่วยควบคุมแมลงศัตรูในนาข้าว โดยแมงมุมจะจับกินผีเสื้อหนอน

ศัตรูธรรมชาติที่มีประโยชน์ต่อข้าว

ศัตรูธรรมชาติที่มีประโยชน์ต่อข้าว การอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ (แมลงดี) ในการทำเกษตรโดยเฉพาะการปลูกข้าว หากเราใช้สารเคมีมากเกินไปอาจทำให้เป็นอันตรายต่อแมลงที่มีประโยชน์ในการกำจัดศัตรูข้าวในธรรมชาติ เพราะแมลงหรือสัตว์บางชนิดสามารถกำจัดศัตรูธรรมชาติของข้าวที่เราปลูกได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้เราควรอนุรักษ์ไว้เพื่อให้แมลงหรือสัตว์จำพวกนี้ได้จัดการกันเอง ซึ่งเป็นวัฎจักรที่หมุนเวียนอยู่แล้ว ได้แก่ แมลงห้ำ มี 3 ชนิด คือ 1. มวนเขียวดูดไข่  ลักษณะลำตัวจะมีสีเขียว หัวสีดำ หนวดยาว ปากแหลม ใช้แทงเข้าไปดูด กินของเหลวภายในไข่ เพลี้ยจักจั่น และเพลี้ยกระโดด ที่ฝังตัวอยู่ในกาบใบข้าว จนบางครั้งทำให้ชาวนาเข้าใจผิดคิดว่าแมลงกำลังดูดกินต้นข้าว 2. แมลงปอ   แมลงปอเป็นตัวห้ำจับศัตรูข้าวขนาดเล็ก  เช่น ผีเสื้อ  หนอนกอข้าว เพลี้ยกระโดด เพลี้ยจักจั่น เพื่อกินเป็นอาหาร 3. ด้วงเต่า  ลักษณะด้วงเต่าจะมีปีกเป็นเงา มีสีส้ม สีแดง สีแสด บางชนิดมีจุดหรือแถบสีดำ ด้วงเต่าเป็นตัวห้ำช่วยกัดกินเพลี้ยไฟและไข่ รวมทั้งหนอนตัวเล็กๆ ของหนอนกอข้าวและหนอนห่อใบข้าวได้เป็นอย่างดี

โรคไหม้ (สาเหตุเกิดจากเชื้อรา)

โรคไหม้ (สาเหตุเกิดจากเชื้อรา)    โรคข้าวที่สำคัญ ส่วนใหญ่แล้วมักระบาดในนาข้าวอยู่ 3 ระยะคือ 1. ระยะข้าวกล้า   ลักษณะอาการที่เด่นชัดคือ ใบข้าวจะมีแผลจุดสีน้ำตาลลักษณะคล้ายรูปตากลางแผลสีเทากว้าง 2 - 5 มม. ยาว 10 - 15 มม. ถ้าระบาดรุนแรงต้นกล้าข้าวจะแห้งและฟุบตาย 2. ระยะข้าวแตกกอ คือจะพบอาการของโรคบนใบข้าวข้อต่อใบหรือคอใบ และข้อลำต้น แผลบนใบข้าวจะมีขนาดใหญ่กว่าระยะกล้า และจะลุกลามติดต่อกันได้ที่บริเวณข้อต่อ ใบข้าวจะมีลักษณะแผลช้ำสีน้ำตาลดำ และจะทำให้ใบข้าวหลุดร่วงในที่สุด 3. ระยะข้าวออกรวง ในระยะที่ข้าวกำลังออกรวงหากข้าวเป็นโรคนี้ เมล็ดข้าวจะลีบ แต่ถ้าเป็นโรคหลังต้นข้าวออกรวงแล้ว คอรวงจะเป็นแผลช้ำสีน้ำตาล ทำให้รวงข้าวหักง่ายหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าโรคเน่าคอรวง โรคไหม้ที่เกิดกับต้นข้าวส่วนใหญ่มักจะระบาดในช่วงหน้าหนาว ช่วงที่มีอากาศเย็น มีน้ำค้างบนใบข้าวจนถึงเวลาสายหรือมีหมอกติดต่อกันหลายวัน การป้องกันโรคข้าว ขอแนะนำให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ใช้พันธุ์ข้าวที่มีความต้านทานโรคเช่นข้าวพันธุ์ สุพรรณบุรี 1 ชัยนาท 1   หอมหลองหลวง 1 แพร่ 1   หรือข้าวพันธุ์สันป่าตอง 1

โรคกาบใบแห้ง และโรคเมล็ดด่าง (เกิดจากเชื้อรา)

โรคกาบใบแห้ง และโรคเมล็ดด่าง (เกิดจากเชื้อรา) โรคข้าวที่สำคัญ ข้าวที่เป็นโรคกาบใบแห้ง ส่วนใหญ่แล้วจะพบในช่วงระยะแตกกอถึงเก็บเกี่ยว      คือจะมีแผลเกิดที่กาบใบใกล้ระดับน้ำมีสีเขียวปนเทา ขอบแผลมีสีน้ำตาล แผลอาจขยายใหญ่มากขึ้นและลุกลามขึ้นไปบนกาบใบข้าว และกาบใบธง กาบและใบข้าวจะเหี่ยวและแห้งตายในที่สุด ยิ่งหากข้าวแตกกอมาก ต้นเบียดกันแน่น โรคจะระบาดรุนแรงมากขึ้น เพราะมีความชื้นสูง โรคเมล็ดด่าง (เกิดจากเชื้อรา) สำหรับข้าวที่เป็นโรคเมล็ดด่าง รวงข้าวจะมีลักษณะด่างดำ เมล็ดข้าวมีรอยแผลเป็นจุดสีน้ำตาลดำลายน้ำตาลสีเทาหรือทั้งเมล็ดบางเมล็ดลีบ และมีสีน้ำตาลดำทำให้ผลผลิตข้าวเสียหายมาก ช่วงเวลาระบาด ส่วนใหญ่แล้วมักพบการระบาดทุกฤดูการปลูกข้าว ในช่วงฝนตกชุก ความชื้นในอากาศสูง มีหมอกจัดติดต่อกันหลายวันเป็นต้น การป้องกันโรคข้าว 1. แนะนำให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวใช้เมล็ดพันธุ์ของทางราชการ หรืออาจซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวจากแหล่งที่เชื่อถือได้และไม่เป็นโรค หากเลือกไม่ได้ให้ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวแช่น้ำหมักชีวภาพ ที่หมักจากสมุนไพรไล่แมลงต่างๆ 2. แนะนำให้เกษตรกร งดปลูกข้าวที่มีสายพันธุ์ที่

โรคขอบใบแห้งและโรคใบหงิก

โรคขอบใบแห้ง  (เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย) โรคข้าว ส่วนใหญ่แล้วมักพบกับข้าวในระยะที่ยังเป็นกล้า คือจะมีจุดเล็กๆ ลักษณะฉ่ำน้ำที่ขอบใบล่าง ต่อมา 7-10 วัน จุดดังกล่าวจะขยายเป็นทางสีเหลืองยาวตามใบ ใบข้าวจะแห้งเร็ว ส่วนที่ยังมีสีเขียวจะเปลี่ยนเป็นสีเทา ถ้าอาการรุนแรงต้นข้าวอาจเหี่ยวตายทั้งต้น และมักพบการระบาดมาก เมื่อมีฝนตกพรำติดต่อกันหลายวัน ระดับน้ำในนาสูง หรือเมื่อเกิดมีน้ำท่วมนาข้าว การป้องกันโรคขอบใบแห้ง 1. หากพบการระบาดในแปลงนาที่เป็นโรค ให้เกษตรกรทำการไถกลบตอซังข้าวหลังเก็บเกี่ยวทันที 2. ให้ทำลายพืชอาศัย เช่น หญ้าไซ ข้าวป่า เป็นต้น 3. ใช้พันธุ์ข้าวต้านทานโรค เช่น ข้าวพันธุ์ กข 7 กข23 สุพรรณบุรี60 สุพรรณบุรี1 สุพรรณบุรี2   หอมคลองหลวง 1 หอมสุพรรณ ปทุมธานี1 สุรินทร์1 แพร่1 และข้าวพันธุ์สันป่าตอง1 เป็นต้น 4. ไม่ต้องระบายน้ำจากแปลงที่เป็นโรคสู่แปลงข้างเคียง โรคใบหงิก (เกิดจากเชื้อไวรัส) สำหรับข้าวที่เป็นโรคใบหงิกจะมีอาการ ต้นเตี้ย แคระแกร็น ใบสีเขียวเข้ม ใบแคบและสั้นกว่าปกติ ปลายใบบิดเป็นเกลียว หรือขอบใบแหว่งวิ่น เส้นใบบวมที่หลังใบ และกาบใบข้าวต้นที่เป็นโรคจะ

ปลูกผักหวานป่าหนึ่งปีกับอีก 7 เดือนเก็บขายได้

รูปภาพ
บทสรุปผักหวานป่าจากประสบการณ์จริง ผักหวานป่า่ บทความการปลูกผักหวานป่าที่เพื่อนๆ กำลังอ่านอยู่นี้เป็นประสบการณ์ที่ได้ทดลองปลูกผักหวานป่า จากประสบการณ์จริงของผมเองครับ เริ่มแรกที่ผมมาอยู่บ้าน (ลาออกจากงานบริษัท) สนใจที่จะทำเกษตรอย่างจริงจัง แต่ไม่รู้จะเริ่มอย่างไรดี ก็มีอยู่วันหนึ่งบังเอิญเห็นข้าราชการครูคนหนึ่งกำลังเดินทางไปสอนนักเรียน ก็มีโอกาสได้คุยกับท่านครับ ผมก็สอบถามเรื่องทั่วไปเกี่ยวกับเงินบำนาญอะไรต่างๆ ประมาณนี้ จากนั้นก็หวนคิดถึงตัวเอง..จะทำอย่างไรดีเมื่อเราไม่มีเงินเดือน ตั้งคำถามให้กับตัวเองเลยทันทีครับ..จะทำอย่างไรเราถึงจะได้บำนาญหลังเกษียนเหมือนข้าราชการ..? ฟังดูแล้วการที่เรามีอาชีพทำเกษตรไม่มีทางเป็นไปได้ใช่ใหมครับ แต่ความตั้งใจของผมคือ จะปลูกผักหวานป่าเอาไว้เก็บขายเพื่อเป็นบำนาญตลอดชีวิตและต้องทำให้ได้ ผมเริ่มจาก 3 Step ครับ นั่นก็คือ คิด – ค้นคว้า – และลงมือทำ เมื่อเริ่มวางแผนก็เริ่มศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลการปลูกผักหวานป่าจากสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ สอบถามจากปราชญ์ชาวบ้าน และค้นหาข้อมูลการปลูกผักหวานป่าจากอินเตอร์เน็ต พอเริ่มเข้าใจก็เริ่มลงมือทำครับ หากเพื่อนๆ